วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วิธีตั้งค่าเบื้องต้นกับ Global Configuration

     อย่างแรกขออธิบายก่อนว่า CMS Joomla นั้นจะมีหน้าเว็บแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ font end และ back end ซึ่งในหน้า font end จะเป็นหน้าเว็บที่เราเข้าไปเยี่ยมชมและ back end จะเป็นหน้าจัดการเกี่ยวกับโมดูลต่างๆ รวมถึง extension ต่างๆ สำหรับวันนี้จะมาตั้งค่าพื้นฐานของจูมลากัน



 1. ให้เราเปิดหน้าเว็บ http://127.0.0.1/joomla/administrator แล้ว Login เข้ามาครับยังจำกันได้ไหมครับ จากนั้นก็จะได้หน้าต่างดังรูปเลย แล้วคลิกไปที่ Global Configuration



2. จะเข้าที่เมนู Site ซึ่งเมนูนี้จะเป็นการตั้งค่าเกี่ยวกับเว็บไซต์ของเรา
    - site name ชื่อเว็บไซต์ครับ อันนี้ไม่เกี่ยวกับ title bar นะครับจะแสดงตอนที่เราเข้าสู่หน้า admin เฉยๆครับ
    - site offline ปรับปรุงเว็บไซต์ถ้าเราติ๊ก yes ก็จะเข้าสู่หน้าปรับปรุงครับอันนี้ยังไม่ต้องติ๊ก yes นะเดี๋ยวจะอธิบายเรื่องต่อไปครับ
    -    ข้อความปรับปรุง ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนข้อความเวลาปรับปรุงหน้าเว็บได้ เมนูนี้จะสัมพันธ์กับตัว Site offline ครับ
  •      hide ไม่ต้องแสดงข้อความออฟไลน์
  •      Use Custom Message ใช้ข้อความที่เราพิมพ์ (แนะนำ)
  •       
    -  Default Editer เราสามารถเลือกโปรแกรมแก้ไขบทความได้ครับ ซึ่งโปรแกรมแก้ไขในแต่ละชุดจะแตกต่างกันออกไปอันนี้ให้เลือกค่าปกติไว้ก่อน
    -  Default Access Level  ระดับสิทธิในการเข้าเยี่ยมชมเว็บ ผมแนะนำว่าเป็น public ครับเพราะเราอนุญาติให้ทุกๆคนเข้าชมเว็บและบทความได้
    -  Site Meta Description อันนี้เป็นรายละเอียดโดยย่อของเว็บไซต์ของคุณครับว่าเกี่ยวข้องกับอะไร
    -  Site Meta Keywords อันนี้เป็นคีย์เวิร์ด มันก็คือกลุ่มคำสำหรับค้นหาในเซิร์จเอ็นจิน จำพวก Google yahoo ครับ หากมีหลายคีย์แนะนำให้ใช้เครื่องหมาย , กั้นนะครับ
 3. เมนูนี้อาจจะถูกใจหลายคนเพราะว่าเป็นการตั้งค่าให้ search engine เข้ามาเก็บข้อมูลในเว็บเรา
    - Search Engine Friendly URLs หรือ SEF  เป็นเคื่องมือนที่ช่วยให้ Search Engine นำ Index ของเว็บไราไปใช้งานได้ง่ายขึ้นนะครับ เรียกง่ายๆว่าเว็บเราอาจจะถูก Search เจอได้ในระดับที่ดีกว่าเว็บไซตือื่นๆนั่นเอง
    - Use URL rewriting เป็นตัวเลือกเฉพาะสำหรับ web server ที่ทำงานด้วยโปรแกรม apache สำหรับกำหนดให้เปลี่ยน URL ของหน้าเว็บเพจให้อยู่ในรูปแบบที่อ่านง่าย โดยจะกำหนดเกี่ยวกับไฟล์ .htaccess ซึ่งผมจะกล่าวถึงในบทความต่อ
   -  Unicode Aliases ใช้ภาษา อื่นๆ ใน url ได้ ภาษาไทยใช้ได้
   -  Add Site Name to Page Titles : เพิ่มชื่อเว็บ ลงใป ใน tag title ทุกหน้าหรือไม่


วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วิธีการติดตั้ง Joomla 1.7 ในโปรแกรม Appserv แบบจับมือสอน

   สวัสดีครับสำหรับขัั้นตอนต่อไปเป็นการติดตั้ง CMS JOOMLA1.7 ในโปรแกรมจำลองเว็บเซอร์เวอร์ Appserv นะครับ ซึ่งคุณสามารถดาวน์โหลดโปรแกรม Joomla 1.7 ได้โดยคลิกที่นี่ เมื่อคุณดาวน์โหลดเสร็จแล้วก็ทำตามขั้นตอนต่อไปได้เลย

1. อันดับแรกเลยครับสร้าง Folder ขึ้นมาครับ ส่วนของผมสร้าง Joomla ขึ้นมา ที่ C:\AppServ\www\Joomla ซึ่งเป็นที่ติดตั้งของโปรแกรม Appserv ส่วนขั้นตอนการติดตั้งที่ติดตั้งในไดรอื่นๆ เราก็นำไปวางไว้ใน...../AppServ/www/ชื่อโฟลเดอร์ที่ต้องการ



          2. จากนั้นเราก็เปิดCMS ที่เราโหลดมา แล้วมาแตกไฟล์ลงใน C:\AppServ\www\Joomla ตามภาพเลยครับ


    3.เมื่อคัดลอกไฟล์ไว้ที่ C:\AppServ\www\Joomla แล้วให้เราเปิดโปรแกรมอินเตอร์เน็ตบราวเซอร์ขึ้นมาครับให้พิมพ์ http://127.0.0.1 ที่ address bar ได้ขึ้นหน้าเว็บมาแล้วก็ให้คลิกที่ PhpMyadmin Database Manger แล้วใส่ชื่อผู้ใช้เป็น Root และพาสเวิร์ดที่ได้ติดตั้งไว้ในตั้งแต่แรกตอนเราติดตั้งโปรแกรมครับ


      4.เมื่อเราใส่รหัสผ่านเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะเห็นหน้าตามภาพเลย ให้เราสร้างฐานข้อมูลใหม่โดยใช้ชื่ออะไรก็ได้ ส่วนผมใช้ Joomla แล้วกันครับง่ายดี แล้วก็คลิกสร้าง

       
       5.โปรแกรมจะสร้างฐานข้อมูลขึ้นมาใหม่ครับ แค่นี้ก็เสร็จขั้นตอนการสร้างฐานข้อมูลเรียบร้อยแล้ว



        6.จากนั้นให้เราเปิดโปรแกรมอินเตอร์เน็ตบราวเซอร์ขึ้นมาแล้วพิม์ http://127.0.0.1/ชื่อที่โฟลเดอร์ที่เราสร้างไว้ใน C:\AppServ\www\.....   ครับก็จะเห็นหน้าต่างดังรูปเลยให้เราเลือกภาษาเราก็คลิกเลือกเลย แล้วคลิกถัดไป


       7.ต่อไปโปรแกรมจะตรวจสอบระบบก่อนการติดตั้งว่าในโฮสติ้งที่เราติดตั้งเนี่ยมีอะไรบ้าง ส่วนในตอนนี้เราติดตั้งในเครื่องเราก็ไม่เป็นไรครับผ่านไปได้เลย แล้วคลิกถัดไป

       8.ต่อไปจะเป็นหน้าต่างเรื่องของลิขสิทธิ์ที่เราสามารถนำไปใช้ได้ จะเป็นเรื่องของข้อสัญญาที่เราสามารถนำไปใช้ครับแต่จริงๆแล้วก็ฟรีนั่นแหละครับเพียงแต่มีเงื่อนไขบางอย่าง เช่นห้ามจำหน่ายหรืออื่นๆ ใ ห้คลิกต่อไป

       9.ขั้นตอนการตั้งค่าการเชื่อมต่อฐานข้อมูล
-          ชนิดฐานข้อมูลให้เราเลือกเป็น Mysql (หรือตามโฮสติ้งที่ท่านเช่ามา)
-          ชื่อโฮส โดยปกติจะใช้ Localhost
-          ชื่อฐานข้อมูลให้ใช้ Root
-          รหัสผ่าน ตอนที่ติดตั้งโปรแกรม Appseve
-          ชื่อฐานข้อมูล ตอนที่เราสร้างฐานข้อมูลในเว็บ Phpmyadmin ของผมใช้ Joomla ครับ
คลิกถัดไป


        10.ระบบจะให้ตั้งค่า FTP ถ้าเราไม่มีก็ไม่ต้องใส่ครับ ในที่นี้จะคลิกถัดไปเลยครับ


       11.ส่วนของการจัดการเว็บไซต์คือหน้า administrator ครับ ให้เราตั้งค่าได้ตามชอบเลย ส่วน เลือกข้อมูลตัวอย่างเราสามารถคลิกได้ครับ  ซึ่งจะมีตัวอย่างในหน้าเว็บเมื่อเราติดตั้งเสร็จ แต่ผมไม่ติดตั้งเพราะว่าสุดท้ายก็ลบข้อมูลตัวอย่างอยู่ดีครับเสร็จแล้วก็คลิกถัดไป

       12.ขั้นตอนสุดท้าย ระบบจะทำการติดตั้งโปรแกรมจนเสร็จ และโปรแกรมจะให้เราลบโฟลเดอร์ที่มีชื่อว่า Installation ออกเพราะว่าโฟลเดอร์นี้จะเป็นโฟลเดอร์ที่ใช้ในการติดตั้งในตอนที่เราเปิดใช้งานครั้งแรก
 แต่ผมแนะนำว่าให้เปลี่ยนแค่ชื่อโฟลเดอร์ก็พอครับ
       
       13. แสดงการเปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์ครับ เผื่อมีปัญหาเราจะมาติดตั้งใหม่

       
        14. จากนั้นลองเปิดหน้าเว็บของเราดูครับ http://127.0.0.1/joomla ก็จะเห็นหน้าเว็บขึ้นมา ในหน้านี้เขาเรียกว่า Font end นะครับคือหน้าเว็บที่ไว้สำหรับเข้าเยี่ยมชมนั่นหละ


       15.จากนั้นลองเปิดหน้าผู้ดูแลเว็บของเราดูครับ http://127.0.0.1/joomla/administrator
ใส่ Username เป็น admin และรหัสผ่านที่เราติดตั้งในเว็บครับ ก็จะเห็นเมนูจัดการครับ เขาเรียกหน้านี้ว่า Back end

       16. หน้า Back end ที่เราใช้สำหรับจัดการเว็บไซต์ของเราครับ

วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

มารู้จัก Joomla กันก่อนดีกว่ามั้ย



    สำหรับ CMS Joomla นั้นมีหลายเว็บที่มีประวัติอย่างไรก็ลองค้นหาดูนะครับ ส่วนผมขอแบบง่ายๆแล้วกันครับเพราะ ขอออกตัวไว้ก่อนเลยครับว่า ผมเขียนสคริป หรือภาษา PHP และอื่นๆไม่เป็นเลยอันนี้เรื่องจริงครับ แต่ทำไมถึงมาทำบล็อกล่ะ เพราะว่าอย่างแรก เผื่อว่าผมลืม อย่างที่สองอยากแบ่งปันให้คนที่สนใจไปลองทำดูครับแล้วจะรู้ว่าการทำเว็บนั้นไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

      เมื่อพูดถึงเว็บไซต์หลายๆคนคงคิดถึงภาษา Html PHP JAVA AJAX และอื่นๆมากมายไปหมด แล้วเราจะทำได้ไหมล่ะ ยกตัวอย่างนะครับ เว็บขายของ เว็บสถาบันการศึกษา สถาบันรัฐ เอกชน เว็บบล็อก เว็บบอร์ด อีเลิร์นนิ่ง เว็บประมูล โอ้โห พูดไปก็ไม่หมดมันเยอะเสียเหลือเกินแต่ผมให้คุณมองภาพให้เห็นว่าเว็บแต่ละเว็บนั้นลักษณะงานไม่เหมือนกันเช่นกัน และเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็มีการเติบโตของกลุ่ม open source ซึ่งเป็นซอร์ฟแวร์เสรี รวมถึง CMS ด้วย หลายๆตัวด้วยกันได้ถือกำเนิดขึ้นมา และก็มีโปรแกรมเมอร์หลายๆคนช่วยกันพัฒนาขึ้นมาให้เป็นเว็บสำเร็จรูปและสามารถพัฒนาต่อไปนั่นก็คือ CMS นี่แหละ (Content Management System) เป็นเว็บสำเร็จรูปที่พร้อมที่จะทำงานได้ทันที โดยเราสามารถจัดการในหน้าเว็บได้เลย โดยไม่ต้องเขียนสคริปหรือคำสั่งอะไรเลย และเสร็จสิ้นในพริบตาเดียว (ดีขนาดนั้นเชียว)
    โดย CMS เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ่้นด้วยภาษาสคริปต์ต่าง ๆที่ทำงานอยู่บนเซอร์เวอร์ โดยมันจะทำงานเป็นแบบแอพลิเคชั่น โดยมีหน้าเว็บสำหรับการแสดงผลพร้อมกับเรื่องมือสำหรับบริหารจัดการเนื้อหาต่าง ๆและองค์ประกอบอื่นๆได้อย่างครบถ้วน และสามารถสร้างเนื้อหาในส่วนที่เป็นข้อมูลของเว็บไซต์ได้ในปริมาณมากๆโดยที่คุณไม่ต้องทำเพจใหม่เลย แล้วยังมีความยืดหยุ่นตามความต้องการของผู้ดูแลระบบเว็บไซต์ด้วยครับ
     ระบบจัดการเนื้อหาหรือ CMS จะต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อยอยู่ 3 ส่วนด้วยกันจึงจะทำหน้าที่เป็น CMS ได้อย่างสมบูรณ์
     1.เครื่องมือจัดการเนื้อหา ( Content Management Appication ) CMA มีหน้าที่จัดการ สร้าง จัดเก็บ และทำลาย เนื้อหาทุกชนิดในหน้าเว็บเพจ
    2.เครื่องมือจัดการข้อมูลของเนื้อหา ( Metacontent Management Appication ) MMA มีหน้าทีจัดการข้อมูลที่ใช้อธิบายข้อมูลอีกทีหนึ่ง
    3.เครื่องมือนำเสนอเนื้อหา ( Content Delivery Appication ) CDA มีหน้าที่แสดงผลชิ้นส่วนของเนื้อหาต่างๆ ขึ้นหน้าเว็บเพจ

ประโยชน์ของ CMS Joomla
- ควบคุมรูปแบบของเว็บไซต์ได้ในทุกๆที่
- ออกแบบเว็บไซต์ได้โดยเราไม่ต้องใช้เครื่องมือหรือโปรแกรมในการทำงาน
- ไม่ต้องมีความรู้ภาษา HTML และ Script
- ระบบรองรับให้สามารถทำงานและพัฒนาได้ในหลายๆคน
- มี Extension เสริมมากและมีเว็บหลายๆเว็บที่คอยช่วยเหลือพร้อมทั้งเว็บบอร์ดให้คุณได้ตั้งกระทู้ถามยามที่มีปัญหา
- มีหน้าเว็บสำหรับผู้ดูแลระบบคอยแก้ไขหน้าเว็บได้ และแยกอิสระจากหน้าเว็บที่ออนไลน์อยู่
- เป็นโปรแกรมฟรีให้ดาวน์โหลดและมีความปลอดภัยสูง
- เหมาะสำหรับทำเป็นเว็บองค์กร หรือเว็บ E-commerce และอื่นๆ
- ติดตั้งง่ายและอัพเดทฟรี
      เมื่อเราได้รู้แล้ว Joomla สามารถตอบสนองความต้องการที่เราจะทำเว็บแล้วต่อไปเราก็มาเลือกเวอร์ชั่นในการติดตั้ง โดยผมแนะนำให้เป็น 1.7 ครับ เพราะเป็นโปรแกรมที่พัฒนาใหม่ล่าสุดแล้วล่ะครับในขณะนี้ ส่วน Extension เสริมอื่น ๆ ก็เริ่มมีมาให้แล้ว และมากกว่า Joomla 1.6 ครับ

เริ่มต้นติดตั้งเครื่องมือเพื่อจำลองโฮสติ้งด้วย Appserv ก่อนติดตั้ง CMS Joomla 1.7

       ก่อนติดตั้งก็จะต้องมีโฮสติ้งซะก่อนครับ แต่ช้าก่อน....ผมเตรียมมาให้คุณเรียบร้อยแล้วครับเป็น Appserv 2.5.10 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นที่สามารถติดตั้งกับ windows 7 ได้ครับ คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด  เมื่อคลิกดาวน์โหลดเสร็จแล้วก็ทำการติดตั้งได้เลยครับ

1. เริ่มต้นจากการติดตั้งครับโดยโปรแกรมจะบอกถึงสิทธิ์ที่คุณสามารถใช้งานโปรแกรมนี้ได้ เมื่ออ่านจบแล้วก็คลิก I Agree ได้เลยครับ ส่วนผมอ่านไม่ออกก็กดต่อไปได้เลย


2. ขั้นตอนการติดตั้งโดยโปรแกรมจะถามตำแหน่งที่อยู่ว่าจะติดตั้งตำแหน่งในในคอมพิวเตอร์ของคุณครับก็เลือกได้ตามสบายส่วนผมขี้เกียจหน่อยเอาตรงนี้ล่ะ ^_^"


3.เลือกโปรแกรมว่าเราจะติดตั้งแพคเกจอะไรบ้างในเครื่องของเรา ผมแนะนำว่า ติดตั้งทั้งหมดนี่แหละ อิๆ


4. จากนั้นโปรแกรมจะถามรหัสผ่านครับ ให้เราใส่เข้าไปครับตามที่เราต้องการ ส่วนผมเองไม่บอกหรอกว่าผมจะใส่รหัส 3377

5. กระบวนการติดตั้งโปรแกรม รอแป๊บเดียวครับให้โปรแกรมติดตั้ง

6. เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว ก็จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายให้เรา Start เซอร์วิสต่างๆให้โปรแกรมทำงาน เราก็กด Finish ได้เลยครับ 

7. ขั้นตอนสุดท้ายก็เปิดโปรแกรม IE หรือ Internet Exploer ขึ้นมาได้เลย ถนัดค่ายไหนก็เปิดขึ้นมาแล้วพิมพ์ http://127.0.0.1 ครับ ก็จะขึ้นมาตามที่เห็นด้านบนเลย 

         โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมฟรีครับซึ่งไว้จำลองเป็นเว็บเซอร์เวอร์ เป็นโปรแกรมที่นิยมโปรแกรมหนึ่งเพราะว่ามันใช้งานง่ายครับ แล้วเจอกันในหัวข้อต่อไปคือ การติดตั้ง CMS Joomla 1.7 แบบลูกทุ๊ง ลูกทุ่ง สำหรับคนที่เขียนโปรแกรมไม่เป็นอย่างผม 555+ สวัสดีครับ